ทำไมหลายคนเลือกสร้างบ้านใกล้ภูเขาไฟ? [ Why do many people choose to build a house near a volcano? ]

in #thai6 years ago

  By  NGThai  - May 9, 2018  


 Greg Chunn ถ่ายภาพของลาวาที่ไหลเข้ามายังสวนของเพื่อนบ้านในย่าน Leilani Estates ภาพถ่ายโดย Trevor Hughes, USA Today 


  ทำไมหลายคนเลือกสร้างบ้านใกล้ภูเขาไฟ?

 เมื่อผืนดินในย่าน Leilani Estates ของฮาวายสั่นสะเทือนและปริแตกออก มันทำให้ภูเขาไฟคิลาเวประทุและปลดปล่อยเอาลาวาและกลุ่มควันพิษตามมา และส่งผลให้ประชาชนในบริเวณรอบๆ ต้องอพยพหนีตาย ซึ่งปกติแล้วลาวาจะไหลลงสู่มหาสมุทร แต่ภัยพิบัติครั้งนี้มันกลับมุ่งหน้าเข้ากลืนกินบ้านเรือนแทน  


  ชาวฮาวายหลายร้อยคนต้องกลายสถานะมาเป็นผู้ลี้ภัย พวกเขายึดเอาโบสถ์, ค่าย และอาคารอีกหลายแห่งเป็นที่หลบภัยชั่วคราวจากการปะทุของภูเขาไฟที่ยังคงปล่ดปล่อยลาวาออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์แล้ว 

สิ่งที่เกิดขึ้นนำไปสู่คำถามตามมาว่า ถ้าเช่นนั้นผู้คนเหล่านี้เลือกที่จะอยู่อาศัยใกล้กับภูเขาไฟทำไมในเมื่อรู้ดีว่าต้องอพยพเข้าสักวันเมื่อเกิดภัยพิบัติ? มิรวมถึงสภาพอากาศที่จะเป็นพิษจากทางเดินหายใจตามมาจากเถ้าถ่านของภูเขาไฟ  


 วิถีชีวิตของชาวบ้านบริเวณภูเขาไฟมายอนทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ หนึ่งในประเทศที่ยังคงมีภูเขาไฟมีพลังมากที่สุดในโลก ภาพถ่ายโดย Ezra Acaya, Getty Images 


  ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ตามแนวภูเขาไฟเหล่านี้อยู่เพื่อเอาตัวรอด พลังงานความร้อนจากใต้พิภพให้พลังงานที่หล่อเลี้ยงชุมชนทั้งชุมชน ทั้งดินในบริเวณภูเขาไฟก็อุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารสำหรับการเพาะปลูก ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมความยิ่งใหญ่ของภูเขาไฟมากมาย นั่นทำให้เกิดงานและรายได้จากการเปิดโรงแรม, ร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก และทัวร์ไกด์ตามมา รวมไปถึงเหตุผลพื้นฐานก็คือ บางคนก็ไม่ได้มีเงินพอที่จะย้ายออกไปอยู่ที่อื่น  


  นอกเหนือจากนี้ก็เป็นเหตุผลด้านวัฒนธรรมและความเชื่อ Jordan Sonner ผู้มีอาชีพเป็นนายหน้าและมีบ้านอยู่ใกล้กับย่าน Leilani Estates เล่าให้สำนักข่าววอชิงตันโพสต์ฟังว่าเธอไม่กลัวที่จะเสียบ้านไป หลังกลับเข้าบ้านไปเอาเอกสารสำคัญและสัตว์เลี้ยงออกมาเมื่อได้ยินข่าวว่าลาวากำลังไหลมา  


  “ที่ฉันกล่าวเช่นนั้นก็เพราะเกาะแห่งนี้ไม่ได้เป็นของเรา แต่มันเป็นของเปเล่” Sonner หมายถึงเทพีแห่งภูเขาไฟในความเชื่อของคนฮาวาย “เราต้องอยู่กับภูเขาไฟเท่าที่อยู่ได้ หากวันนึงเปเล่จะเอาที่ของเธอคืนก็ต้องปล่อยไป และอีกอย่างคือฉันมีประกันที่ดีด้วย” เช่นเดียวกับผู้คนมากมายที่อาศัยอยู่รอบๆ ภูเขาไฟคิลาเว พวกเขาคิดว่ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยง  


  “เราเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เรารู้ตัวว่าอยู่ในเขตลาวา” Stacy Welch ผู้มีบ้านอยู่ในย่าน Leilani Estates ซึ่งถูกทำลายโดยลาวาไปแล้วกล่าวกับสำนักข่าว Time “แต่เราจะไม่เป็นอะไร ก็แค่สร้างบ้านขึ้นใหม่”  


 กลุ่มควันและเถ้าถ่านพวยพุ่งออกมาจากภูเขาไฟคิลาเว ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมือง Pahoa ของฮาวายตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2018
ภาพถ่ายโดย กรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา, Getty Images 


  ข้อดีของภัยพิบัติจากภูเขาไฟก็คือมันมีสัญญาณแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องมือบ่งบอกว่าจะเกิดลาวาประทุตามมา กรณีของภูเขาไฟประทุต่างจากภัยพิบัติอื่นๆ บนโลกที่แผ่นดินไหว, ทอร์นาโด, ไฟป่า หรือน้ำท่วมซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน หรือมีประกาศเตือนล่วงหน้าเพียงไม่นาน  


  ทั้งนี้การปะทุของภูเขาไฟคิลาเวไม่ใช่การปะทุครั้งแรกในปีนี้ เมื่อเดือนมกราคมภูเขาไฟมายอน ในฟิลิปปินส์เองก็ประทุพ่นเถ้าถ่านออกมา ผู้คนหลายหมื่นคนพากันอพยพ ย้อนกลับไปอีกในเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 ภูเขาไฟอากุงบนเกาะบาหลี ของอินโดนีเซียเองก็เกิดการประทุ ส่งผลให้บรรดาชาวบ้านและนักท่องเที่ยวหลายพันคนต้องพากันอพยพไปยังที่ปลอดภัย 

เรื่อง Heather Brady  


 ลาวาค่อยๆ ไหลกลืนกินบ้านเรือนในย่าน Leilani Estates เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2018
ภาพถ่ายโดย Bruce Omori, EPA 


 บ้านในย่าน Leilani Estates เกิดเพลิงลุกไหม้จากลาวา
ภาพถ่ายโดย Trevor Hughes, USA Today 


 Sam Knox มองดูลาวาค่อยๆ ไหลบ่าลงสู่ถนน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2018
ภาพถ่ายโดย Marco Garcia, AP 



Coin Marketplace

STEEM 0.26
TRX 0.11
JST 0.032
BTC 63547.08
ETH 3070.13
USDT 1.00
SBD 3.83