Unhealthy salty addiction of Thais อาการติดเค็มของคนไทย

in #health4 years ago
สำหรับคนไทยแล้วเครื่องปรุงหรือพริกน้ำปลาเป็นอะไรที่เป็นของคู่กันของคนไทย โดยเฉพาะรสเค็ม ความเค็มเป็นหนึ่งในรสชาติที่สามารถเสพติดได้ง่าย เพราะว่าสมองและร่างกายของเราถูกออกแบบมาให้เจริญอาหารและเพลิดเพลินกับรสชาติเค็ม

Source: Photo via HomeGymr


อาหารสำเร็จรูปในปัจจุบันมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือที่ให้รสชาติเค็มเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูง ปกติแล้วร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมต่อวันเพียงแค่ 1 ช้อนชา หรือปริมาณ 2400 มิลลิกรัมเท่านั้น ในขณะที่ปัจจุบัน คนเรากลับมีการกินเค็มเพิ่มมากขึ้นเป็น 3 เท่าตัว เพราะถ้ายังมีพฤติกรรมการกินเค็มแบบนี้อยู่ อาจจะนำพาไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ในภายหลัง เช่น โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ การกินเค็มยังสามารถทำให้เกิดโรคหอบชนิดรุนแรงได้ และเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน และเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน รวมถึงโรคมะเร็งกระเพราะอาหารอีกด้วย ส่วนนิสัยที่ทำให้คนไทยมีนิสัยติดเค็มก็เพราะว่า


1) รสชาติอาหารโดยไม่มีการชิมก่อน เรียกได้ว่าเครื่องปรุงอยู่ใกล้ๆ ขอให้ได้เติม ส่วนใหญ่แล้วอาหารจะถูกปรุงโดยมีการใส่ซอสปรุงรสต่างๆ หรือผงปรุงรสต่างๆ มาแล้ว แต่คนไทยก็ยังคงเรียกหาเครื่องปรุงเพื่อแต่งเติมรสชาติเข้าไปอีก ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู พริกป่น บางครั้งยังไม่ชิมก็ตักเครื่องปรุงลงไปเพิ่มเพราะเกิดความเคยชิน

2) ชอบกินอาหารแปรรูป เนื่องจากสภาพการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่ต้องแข่งกับเวลา ทำให้ไม่มีเวลาในการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ แต่เลือกอาหารที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะอาหารแปรรูปอย่างเช่น ไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้นต่างๆ ซึ่งอาหารแปรรูปเหล่านี้จะมีปริมาณโซเดียมจากกระบวนการถนอมอาหาร และมีโซเดียมแฝงเข้ามาอีกจากเติมสารปรุงแต่งรส สี กลิ่น ต่างๆ เพื่อให้ถูกใจผู้บริโภค

3) จิ้มน้ำจิ้มไม่ยั้ง ทุกครั้งที่อาหารแบบที่ต้องมีน้ำจิ้ม เราจะจิ้มน้ำจิ้มแบบไม่ยั้ง หรือเทน้ำจิ้มแบบไม่ยั้ง ซึ่งในน้ำจิ้มเหล่านี้ก็มีปริมาณโซเดียมอยู่ในปริมาณที่สูง

4) ซดน้ำซุปจนหมดชาม ต้องบอกว่าอาหารในกลุ่มก๋วยเตี๋ยว สุกี้ ต้มยำ หรืออาหารประเภทที่มีน้ำแกง ล้วนถูกปรุงรสด้วยซอสและเครื่องปรุงรสที่มีปริมาณโซเดียมอยู่ในปริมาณที่มาก

5) ชอบปรุงรสให้เค็มไว้ก่อน เครื่องปรุงที่เป็น 4 จตุเทพของคนไทยคือน้ำปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ อาหารที่มีการปรุงด้วยวัตถุดิบเหล่านี้จะมีปริมาณโซเดียม โดยส่วนใหญ่เวลาจะทานก็มักจะมีการเติมเครื่องปรุงทำให้ได้รับปริมาณของโซเดียมเพิ่มเข้าไปอีก


จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนไทยจะติดเค็ม ส่วนวิธีที่จะปรับพฤติกรรมลดการติดเค็ม ก็ควรจะมีการชิมอาหารก่อนทุกครั้งก่อนมีการปรุงรสเพิ่ม ลดการรับประทานอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป และอาหารนอกบ้าน ลดการบริโภคน้ำจิ้มและน้ำซุป หรือลดความถี่ในการรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด วิธีเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยที่ทำให้เราลดปริมาณโวเดียมที่รับเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวัน

Steem: www.steemit.com/@andyjim


Sort:  

Salt consumption activates the brain reward system, inducing cravings and the search for salted food. Its excessive intake is associated with high blood pressure and obesity. The high quantity of salt in processed food is most likely a major cause of the global pandemic of hypertension (HT).



Coin Marketplace

STEEM 0.30
TRX 0.12
JST 0.033
BTC 63892.45
ETH 3117.72
USDT 1.00
SBD 3.87