ภัยเงียบใกล้ตัว "โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น" (Obstructive Sleep Apnea: OSA)

in #thai6 years ago (edited)

สวัสดีคะ เพื่อน ๆ ชาว Steemian ที่น่ารักทุกท่าน
วันนี้จะมาคุยเรื่อง "โรคนอนหยุดหายใจชนิดอุดกั้น" (Obstructive Sleep Apnea: OSA)
ภัยใกล้ตัวที่เราคาดไม่ถึง เมื่อวันเสาร์ได้รับข่าวจากพี่ชายว่าต้องเข้ารับการผ่าตัด (ผ่าตัดเล็ก)
ที่ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ เคยได้ยินเรื่องนี้แต่ไม่คิดว่าคนใกล้ตัวจะเป็นได้
เลยอยากจะให้เพื่อน ๆ สังเกตคนใกล้ตัวเราว่าจะเป็นโรคนี้กันหรือไม่ จะได้รักษาทันก่อนจะสายเกินไป...
6.jpg

"โรคนอนหยุดหายใจชนิดอุดกั้น" (Obstructive Sleep Apnea: OSA) คืออะไร
ในขณะที่เรานอนหลับ กล้ามเนื้อที่คอยทำหน้าที่ตึงตัวและช่วยขยายทางเดินหายใจในช่องคอจะหย่อนตัวลง ซึ่งภาวะนี้เองทำให้ทางเดินหายใจแคบลง แต่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในเด็กหรือคนทั่วไป แต่ในผู้ป่วย OSA ทางเดินหายใจจะตีบแคบลงมาก ทำให้การหายใจลำบากขึ้น สมองจะรับรู้ภาวะนี้และสั่งการให้เพิ่มแรงในการหายใจ สิ่งนี้จะกระตุ้นให้สมองตื่นเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อช่องคอกลับมาตึงตัวและเปิดทางเดินหายใจอีกครั้ง ซึ่งวงจรเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ นับสิบหรือถึงร้อยครั้งในแต่ละคืน ทำให้รบกวนการนอนหลับและส่งผลให้สมองไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอขณะนอนหลับ
3.jpg
4.bmp
5.jpg

เมื่อไรที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรค OSA

  1. เสียงกรนที่ดังแม้กระทั่งปิดประตูยังได้ยิน
  2. ลักษณะของการกรนแล้วหยุดเป็นพักๆ ตามด้วยเหมือนอาการสำลักขณะนอนหลับ
    หรือมีผู้สังเกตเห็นว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  3. ภาวะง่วงนอนผิดปกติ เช่น ขณะทำงานหรือหลับในขณะขับรถ
  4. ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม
  5. ปวดศีรษะหลังตื่นนอนตอนเช้า
  6. ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  7. ความรู้สึกทางเพศลดลง

โรค OSA หากไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร

  1. ภาวะง่วงนอนผิดปกติ เช่น ขณะทำงานหรือหลับในขณะขับรถ
    ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานที่ต้องใช้สมาธิหรืออุบัติเหตุบนท้องถนนได้
  2. เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
    โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคซึมเศร้า และโรคอื่นๆ ตามมาได้

โรค OSA มีแนวทางการวินิจฉัยและรักษาอย่างไรบ้าง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะซักถามอาการต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น และอาจพิจารณาส่งตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) จำนวน 1-2 ครั้ง เพื่อประเมินว่าหากมีโรค OSA จริง จะมีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับใด (น้อย ปานกลาง รุนแรง) เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วยต่อไป

แนวทางการรักษาผู้ป่วย OSA แบ่งเป็น
การรักษาเฉพาะโรค:
1. การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Positive Airway Pressure: PAP) ปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาหลักและเป็นการรักษาที่ได้ผลดีมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความรุนแรงปานกลางและรุนแรงมาก
2. การใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรม เหมาะสำหรับกลุ่มที่รุนแรงน้อยหรือรุนแรงปานกลาง
3. การผ่าตัดแก้ไขทางเดินหายใจในส่วนต่างๆที่มีภาวะตีบแคบ เช่น การผ่าตัดต่อมทอลซิล
(โดยเฉพาะในเด็ก) การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกคด/เพดานอ่อน/กระดูกกราม โดยผลของการผ่าตัดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

การให้คำแนะนำทั่วไป:
ได้แก่ การลดน้ำหนัก การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และบุหรี่ ยานอนหลับต่างๆ การนอนตะแคง สิ่งเหล่านี้เป็นการรักษาเสริม เพื่อช่วยให้การรักษาผู้ป่วย OSA ได้ผลมากขึ้น
2.jpg

ตอนนี้พี่ชายเราออกจากโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้วค่ะ การผ่าตัดผ่านไปได้ด้วยดี
นอนโรงพยาบาลแค่ 3-4 วัน (ถ้าแผลผ่าตัดดีก็ออกไวค่ะ) เท่านั้นค่ะ
1-2 วันแรกอาจยังพูดไม่ได้เพราะเจ็บคอ หลังจากนั้นก็พูดได้ตามปกติแต่พูดเสียงดังไม่ได้...

Sort:  

Congratulations @chutima! You have completed some achievement on Steemit and have been rewarded with new badge(s) :

Award for the number of upvotes

Click on any badge to view your own Board of Honor on SteemitBoard.

To support your work, I also upvoted your post!
For more information about SteemitBoard, click here

If you no longer want to receive notifications, reply to this comment with the word STOP

Upvote this notification to help all Steemit users. Learn why here!

Coin Marketplace

STEEM 0.26
TRX 0.11
JST 0.033
BTC 64107.21
ETH 3073.84
USDT 1.00
SBD 3.88