Modern Android : โลกของนักพัฒนา Android

in #thai6 years ago (edited)

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว steemians ทุกคนนะครับ

  • ช่วงนี้เทคโนโลยีหลายๆด้านพัฒนากันเยอะเลยละครับ ซึ่งวันนี้ผมนำข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาของระบบ Android มาให้ได้อ่านกัน ซึ่งการพัฒนานี้อาจจะเป็นปัญหากับอุปกรณ์รุ่นเก่าๆ แต่ก็ดีสำหรับอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่พัฒนามาพร้อมกับระบบครับ เราลองมาอ่านข้อมูลกันนะครับ

20BBDFE5-D39B-4178-863C-294A12F4309A.png

  • ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (2017-2018) กูเกิลยกเครื่องหลายส่วนของแพลตฟอร์ม Android ไปเยอะมาก ในระดับที่ว่าตำราพัฒนาแอพ Android ที่อายุเก่าเกิน 2-3 ปีอาจล้าสมัยไปหมดแล้ว แพลตฟอร์ม Android ในปี 2018 มีความแตกต่างจาก Android ปี 2008 แบบที่เรียกได้ว่าไม่เหมือนกันเลยอย่างสิ้นเชิง

  • ในงาน Google I/O 2018 มีหัวข้อที่พูดถึงประเด็นนี้โดยตรง ผู้นำเสนอเป็นคนที่โลก Android คุ้นหน้ากันมานานอย่าง Romain Guy และ Chet Haase ใช้คำว่าตอนนี้เราเข้าสู่ "Android ยุคใหม่" (Modern Android) แล้ว ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ที่สอนกันมาในหมู่นักพัฒนาอาจใช้งานไม่ได้อีกต่อไป

  • จาก Timeline จะเห็นว่าในอายุขัย 10 ปีของ Android มีจุดเปลี่ยนที่ราวปี 2013 จากการเปิดตัว Android Studio ในฐานะเครื่องมือพัฒนาหลักตัวใหม่ (มาแทนปลั๊กอิน Eclipse ของเดิม) แต่กว่า Android Studio จะนิ่งก็ต้อง รอจนถึงปลายปี 2014 ในเวอร์ชัน 1.0

  • หลังจากนั้นเป็นต้นมา โลกของ Android ก็เกิดภาวะการ "ถอดเปลี่ยนชิ้นส่วน" เอาของเก่าล้าสมัยออก เอาของใหม่ใส่เข้าไป เรียกได้ว่าแทบทุกส่วนนับตั้งแต่ IDE, ภาษา, รันไทม์ ไปจนถึงส่วนยิบย่อยอื่นๆ ด้วย

BBABDB6E-B275-42AD-9102-A70D3A36AC9F.png

Tools: Android Studio

  • เริ่มจากเครื่องมือพัฒนา เปลี่ยนจาก Eclipse Plugin มาเป็น IDE ของตัวเองอย่าง Android Studio ที่พัฒนาอยู่บน IntelliJ IDEA
  • มาถึงตอนนี้ต้องบอกว่า Android Studio ค่อนข้างเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็น visual layout editor, realtime profiler, APK analyzer เป็นต้น

4D7AF488-201B-4E03-A528-1F018C7EBB34.png

Runtime: ART

  • การเปลี่ยนแปลงรันไทม์จาก Dalvik เป็น ART เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย KitKat (เริ่มใช้จริงใน Lollipop) มาถึงตอนนี้ ART กลายเป็นมาตรฐานเดียวของรันไทม์ Android ไปเรียบร้อยแล้ว
  • ในแง่ของนักพัฒนาและผู้ใช้คงไม่มีอะไรต้องเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่การเปลี่ยนจาก Dalvik ที่ออกแบบมาบนมือถือทรัพยากรต่ำ (Android สมัยแรกๆ มีแรมไม่ถึง 64MB) มาสู่ ART ที่สร้างมาเพื่อสมาร์ทโฟนยุคใหม่ ก็ช่วยให้ประสิทธิภาพของ Android ดีขึ้นมาก

A0B3C0C3-6386-4D6E-9BA5-723FA027E8FD.jpeg

Language: Kotlin

  • สถานะของ Android ตอนนี้รองรับสองภาษาคือ Java และ Kotlin อย่างเท่าเทียมกัน แต่ทิศทางของกูเกิลก็เห็นได้ชัดว่ามุ่งไปทาง Kotlin และในการบรรยาย Modern Android ทางทีมงานก็ยอมรับว่าซัพพอร์ต Java เวอร์ชันใหม่ๆ ได้ช้าเกินไป และแนะนำว่า Kotlin คืออนาคต

C875E29B-CD8C-4602-BEA7-D5B2638B35E6.png

  • ประกาศสำคัญอีกอย่างของ I/O 2018 คือ Android Jetpack ซึ่งเป็นการรวมไลบรารีสนับสนุนการเขียนแอพให้เป็นชุดเดียวกัน ใช้แบรนด์ใหม่ว่า Android Jetpack
  • Jetpack ไม่ใช่ของใหม่ 100% หลายอย่างเป็นสิ่งที่นักพัฒนา Android คุ้นเคยกันอยู่แล้ว (เช่น Fragment) และหลายส่วนนำมาจาก Android Architecture Components ที่ประกาศในงาน I/O 2017 เช่น Rooms (ฟีเจอร์เก็บข้อมูลที่ครอบบน SQLite) หรือส่วนของ Lifecycles, LiveData, ViewModel

C2441A19-25C2-470B-A483-C80DEE1D14DF.png

  • ของใหม่อีกอย่างใน Google I/O 2018 คือ Material Theming พัฒนาการขั้นกว่าของ Material Design
  • ในแง่หลักการออกแบบคงไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่ในแง่การสร้างสไตล์เฉพาะของแต่ละแอพให้เป็นที่จดจำได้มากขึ้น Material Theming จะเข้ามาช่วยผลักดันตรงนี้ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าจะเริ่มเห็นผล เพราะแอพของกูเกิลเองก็เพิ่งเริ่มใช้เป็นบางตัวเช่นกัน

08043F40-A029-4AAF-86AB-1CDA436E70D0.gif

Distribution: Android App Bundle

  • นอกจากตัวแอพของเราแล้ว โลกของการกระจายแอพไปยังผู้ใช้ผ่าน Google Play ก็เปลี่ยนไปจากเดิม มีเทคนิคใหม่ๆ อย่าง Google Play Instant หรือ Android App Bundle เพิ่มเข้ามา

  • นักพัฒนา Android แทบทุกคนต้องใช้งาน Google Play อยู่แล้ว ก็ควรเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ เหล่านี้เช่นกัน

  • Modern Android ยังมีรายละเอียดเชิงลึกอีกมาก เช่น การใช้ fragment หรือการใช้ ContrainLayout นักพัฒนาสาย Android ควรอัพเดตความรู้ของตัวเองให้เป็นปัจจุบัน เพราะความรู้เดิมๆ บางส่วนอาจล้าสมัยไปแล้ว (โลกมันโหดร้าย) และคงไม่มีใครพูดเรื่องนี้ได้ดีเท่ากับทีมพัฒนา Android โดยตรง

  • เป็นไงละครับ สิ่งที่นักพัฒนา Android กำลังจะจัดทำขึ้นมา มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งรอดูกันว่าจะมีการเปิดให้ใช้งานเมื่อไร เทคโนโลยีนี้พัฒนาไม่หยุดยั้งจริงๆครับ

Credit : Android

  • ฝากต่อท้าย ขอให้เพื่อนๆโหวต Witnesses ให้กับ @curie ด้วยนะครับ กลุ่มผู้สนับสนุน Steemit Thai Community ของพวกเรามาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน 🙏🏻

ขอขอบคุณเพื่อนๆ ชาว steemians ทุกคน ที่คอย upvote comment follow & resteem นะครับ

follow me : @jakkris
Sort:  

ขอบคุณสำหรับข้อมูลข่าวสารนี้ค่ะพี่เบส @jakkris 🤗🌐💻📰😋

ไม่เป็นไรครับน้องออมสิน แบ่งปันข้อมูลกัน 👍🏻😁

Hi jakkris,

Your post has been upvoted by the Curie community curation project and associated vote trail as exceptional content (human curated and reviewed). Keep creating awesome stuff! Have a great day :)

LEARN MORE: Join Curie on Discord chat and check the pinned notes (pushpin icon, upper right) for Curie Whitepaper, FAQ and most recent guidelines.

คุณจักกิดค่ะ คืออยากโพดวีดีโอผ่านที่Dtubeต้องทำอย่างไรค่ะ

อันนี้เบสทำไม่เป็นเหมือนกันครับ ยังไม่เคยลองเลย 😅

ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณมาก

Coin Marketplace

STEEM 0.26
TRX 0.12
JST 0.031
BTC 61258.08
ETH 2873.80
USDT 1.00
SBD 3.56